เทศบาลตำบลบุ่งเลิศ

Bunglerd Subdistrict Municipality Office : Local Government

อำนาจหน้าที่


ออนไลน์ : 7

หัวข้อ :: อำนาจหน้าที่


ภารกิจอำนาจหน้าที่

          ภารกิจ อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลบุ่งเลิศ เป็นไปตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และรวมทั้งกฎหมายอื่น ทั้งนี้เพื่อให้เทศบาลตำบลบุ่งเลิศ มีอำนาจหน้าที่ ที่จะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ให้ตรงกับความต้องการของประชาชน อีกทั้งภารกิจสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ดังนี้

1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
    1) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ มาตรา 16(2)
ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และมาตรา 50(2) มาตรา 51(8) ตามพระราชบัญญัติเทศบาล
พ.ศ.2496
    2) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ มาตรา 16(4) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผน
และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
    3) การสาธารณูปการ มาตรา 16(5) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอน
การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   4) การควบคุมดูแลอาคาร มาตรา 28 ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ
กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   5) การผังเมือง มาตรา 16(25) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ
กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   6) การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร มาตรา 16(26) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผน
และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   7) ให้มีการบำรุงและการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น มาตรา 51(7) ตามพระราชบัญญัติ
กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
   1) การจัดการศึกษา มาตรา 16(9) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ
กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   2) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
มาตรา 16(10) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   3) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มาตรา 16(13) ตามพระราชบัญญัติ
กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 
   4) การส่งเสริมกีฬา มาตรา 16(14) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ
กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   5) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล มาตรา 16(19)
ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   6) การส่งเสริมกีฬา มาตรา 16(14) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ
กระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
3. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
   1) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
มาตรา 16(15) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   2) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มาตรา 16(29) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผน
และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   3) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความ
ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มาตรา 16(30) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและ
ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
4. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
   1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง มาตรา 16(1) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผน
และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   2) การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ มาตรา 16(6) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผน
และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   3) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร มาตรา 51(5) ตามพระราชบัญญัติเทศบาล
พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
5. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
   1) การดูแลรักษาที่สาธารณะ มาตรา 16(27) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอน
การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   2) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย มาตรา 16(18) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผน
และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
6. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
   1) การจัดการศึกษา มาตรา 16(9) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการ
กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
   2) การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
มาตรา 16(11) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
7. ด้านการบริหารจัดการและการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้
  1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง มาตรา 16(1) ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผน
และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 
  2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น มาตรา 16(16)
ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น พ.ศ. 2542

      การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานการณ์ การพัฒนาในปัจจุบัน และโอกาสการพัฒนาในอนาคตของเทศบาล เป็นการประเมินโดยวิเคราะห์ถึงโอกาส ศักยภาพ และภาวะคุกคามหรือข้อจำกัด อันเป็นสภาวะแวดล้อมภายนอกที่มีผลต่อการพัฒนาด้านต่างๆ ของเทศบาล รวมทั้งการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ของเทศบาลอันเป็นสภาวะแวดล้อมภายในเขตเทศบาล ซึ่งทั้งหมดจะเป็นการประเมินและสรุปสถานการณ์การพัฒนาของเทศบาลที่จะเป็นประโยชน์ ในการกำหนด      ทิศทางการดำเนินงานในอนาคต โดยทั้งหมดจะใช้เทคนิค S W O T Analysis เป็นตัวแบบในการวิเคราะห์อันได้แก่ การพิจารณาถึงปัจจัยภายใน (ภายในเขตเทศบาลตำบลบุ่งเลิศ) คือ จุดแข็ง (Strength-S) จุดอ่อน (Weak-W) และปัจจัยภายนอก (ภายนอกเขตเทศบาลตำบลบุ่งเลิศ)  คือโอกาส (Opportunity) และ อุปสรรค (Threat-T) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ซึ่งสามารถสรุปผลได้ ดังนี้

ปัจจัยภายใน
จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weak)
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
   1. เทศบาลตำบลบุ่งเลิศ มีพื้นที่ขนาดเล็ก ครอบคลุมพื้นที่ 9 หมู่บ้าน มีถนนสัญจรเข้าถึงทุกหมู่บ้าน
2. พื้นที่ทางภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำจากธรรมชาติเอื้อต่อการทำการเกษตรกรรมของประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลบุ่งเลิศ 
ด้านการเมืองการบริหารจัดการ
1. ผู้บริหารเทศบาลให้ความสำคัญต่อการพัฒนาใน ด้านต่างๆ และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล
2. การเมืองมีความเข้มแข็ง ผู้บริหารเทศบาลและสภาเทศบาลไม่มีความขัดแย้ง
3. มีการพัฒนากระบวนการให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการนำเครื่องมือและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงาน
4. มีกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านทำให้สะดวกในการประสานงานกับประชาชน
ด้านเศรษฐกิจ
1. มีแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ลำห้วยแดง หนองเรือ
เป็นแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรม ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์
2. ประชาชนในพื้นที่ประกอบอาชีพทอผ้าไหม ผ้าฝ้ายเป็นหลักซึ่งเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของตำบล รวมถึงทำอาชีพเกษตรกรรม เช่น กลุ่มปลูกถั่วลิสง
 
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
 1. เส้นทางในการสัญจรไปมาภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลบุ่งเลิศ ยังพบว่ามีการชำรุด เป็นหลุมเป็นบ่อ
งบประมาณไม่เพียงพอในการบริหารจัดการดูแล บำรุง รักษา
2. กิจการประปาเทศบาลตำบลบุ่งเลิศ มีอายุการใช้งานมาเป็นเวลานานจึงประสบกับปัญหาในการผลิตน้ำประปาทำให้น้ำเป็นสีขุ่นเหลืองในบางครั้ง รวมถึงในช่วงฤดูหน้าแล้งน้ำอาจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
ด้านการเมืองการบริหารจัดการ
1.การบริการประชาชนยังไม่ครอบคลุมและทั่วถึง
2.ประชาชนยังขาดความตื่นตัวในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง การบริหาร และการพัฒนาท้องถิ่น
3.ขาดการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
 
 
   
ด้านเศรษฐกิจ
1. การประกอบอาชีพทางการเกษตรใช้ต้นทุนการผลิตสูงและผลผลิตน้อย
2. ขาดตลาดรองรับในการจำหน่ายสินค้า
3. มีแหล่งน้ำจากธรรมชาติแต่ยังไม่เพียงพอต่อการใช้ทำการเกษตรในช่วงฤดูหน้าแล้ง
ปัจจัยภายใน (ต่อ)
จุดแข็ง (Strength) จุดอ่อน (Weak)
ด้านสาธารณสุข
1. มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอยู่ในพื้นที่ จำนวน 2 แห่ง
2. ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ
3. มี อสม.ทุกหมู่บ้าน
4. ประชาชนตระหนักและให้ความสำคัญในการรักษาสุขภาพอนามัย
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
1. สภาพพื้นที่ยังเป็นสังคมชนบท สภาพแวดล้อม
ยังไม่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการใดๆ ยังคงรักษาระบบนิเวศน์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์
2. ไม่มีภัยธรรมชาติที่รุนแรง
3. มีแหล่งน้ำจากธรรมชาติในพื้นที่
4. มีการบริหารจัดการขยะแต่ต้นทาง เป็นเทศบาล
ที่ปลอดถังขยะ
ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
1. มีสถานศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา
มีโรงเรียนขยายโอกาสในพื้นที่ จำนวน 2 แห่ง
2. มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเทศบาล
3.มีความเป็นอัตลักษณ์โดดเด่นในเรื่องวัฒนธรรมประเพณี ขนบธรรมเนียมท้องถิ่น เช่น หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมผู้ไท
4. มีการส่งเสริม อนุรักษ์ ศิลปะวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น เช่น ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีลอยกระทง
ด้านสาธารณสุข
1. ยังพบว่าประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
2. ประชาชนกลุ่มผู้สูงวัยมากกว่ากลุ่มวัยทำงานจึงทำให้กลุ่มผู้สูงอายุจะประสบกับปัญหาสุขภาพมากขึ้น
3. มีงบประมาณ เครื่องมือ เครื่องใช้ในงานสาธารณสุขไม่เพียงพอ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
1. ประชาชนมีการเผาฟางข้าวหลังฤดูการเก็บเกี่ยวมากกว่าการไถกลบ
2. มีการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรมากขึ้น
 
  
ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
1. บุคลากรด้านการศึกษา สถานที่และวัสดุ อุปกรณ์ยังไม่เพียงพอ
2. ไม่มีหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. เด็ก เยาวชนรับวัฒนธรรมตะวันตกมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในสังคมยุคปัจจุบันมากขึ้น 
 
 
ปัจจัยภายนอก
โอกาส (Opportunity) อุปสรรค (Threat)
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
   1. มีนโยบายการถ่ายโอนภารกิจและงบประมาณให้แก่เทศบาลตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
    2. มีระเบียบ กฎหมายที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496
ด้านการเมืองการบริหารจัดการ
   ได้รับความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ เป็นอย่างดี
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  
ด้านเศรษฐกิจ
   1. มีหน่วยงานจากภายนอกเข้ามาส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเพื่อสร้างมูลค่า
  2. นโยบายรัฐเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1. การให้ความร่วมมือในการดาเนินโครงการบางโครงการ ไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน จากความคิดเห็นและทัศนคติที่ไม่ตรงกัน
2. ระบบสาธารณูปโภคยังไม่ทั่วถึง
 
 
ด้านการเมืองการบริหารจัดการ
1. นโยบายจากส่วนกลางขาดความต่อเนื่อง
2. มีการถ่ายโอนภารกิจแต่ไม่ถ่ายโอนงบประมาณ
3. มีระเบียบกฎหมายในการกำกับการปฏิบัติงานมาก
ทำให้การดำเนินงานล่าช้าและขาดความคล่องตัว
ด้านเศรษฐกิจ
1. ปัญหาที่เกิดจากภัยธรรมชาติที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ปัญหาภัยแล้งประชาชนขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตรในฤดูแล้ง
2. เส้นทางการคมนาคมห่างไกลจากตัวจังหวัด
 

ภารกิจหลักและภารกิจรองที่ เทศบาลตำบลบุ่งเลิศ จะดำเนินการ

          ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 เทศบาลตำบลบุ่งเลิศ จึงได้กำหนดภารกิจหลักและภารกิจรอง ดังนี้

ภารกิจหลัก
1. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
    1) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    2) การจัดให้มีการบำรุงทางบกและทางน้ำ
    3) การจัดให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
    4) การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
    5) การจัดให้มีตลาด
    6) การจัดให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
2. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต
    1) การจัดการศึกษา
    2) การจัดให้มีการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
    3) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส
    4) การบำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร 
3. ด้านจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
   1) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
   2) การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อย
   3) การรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนในเขตเทศบาล
4. ด้านเศรษฐกิจ
   1) การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ จดทะเบียนกลุ่มอาชีพ
   2) ส่งเสริมและพัฒนาด้านอาชีพเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ในครัวเรือนแก่กลุ่มอาชีพและราษฎรในพื้นที่
   3) ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกลุ่มแม่บ้านให้มีการพัฒนารูปแบบได้หลากหลาย
 
ภารกิจรอง
1. เทศพาณิชย์
2. ให้มีการสาธารณูปการ
3. ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
4. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
5. ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
6. ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
7. การเพิ่มศักยภาพบริการให้ประชาชน ชุมชน และส่งเสริมสิทธิชุมชน
8. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคเอกชนในการพัฒนาเมือง
9. การพัฒนาศักยภาพขององค์กรและบุคลากร
10. การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นอย่างเท่าเทียมกัน
11. การจัดการให้มีความสมดุลในการใช้ การป้องกันรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
12. การจัดให้มีส่งเสริมและพัฒนาสวนสาธารณะ แหล่งท่องเที่ยว และกิจกรรมนันทนาการ
13. ส่งเสริมการใช้มาตรการของผังเมือง เพื่อการพัฒนาและควบคุมการขยายตัวของชุมชนเมือง
 

วันที่ : 14 ธันวาคม 2560   View : 1085